วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมวัสดุ

หลักสูตรเพื่อสร้างวิศวกรโลหการและวัสดุที่มีทักษะการปฏิบัติงานทางวิศวกรรม คิดได้ ทำเป็น แก้ปัญหาเก่ง พร้อมทำงานสำหรับอุตสาหกรรม New S-curve

See More

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมวัสดุเชิงนวัตกรรม

หลักสูตรเพื่อสร้างวิศวกรพอลิเมอร์และคอมโพสิตที่คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น พร้อมบูรณาการทำงานร่วมผู้อื่นได้

See More

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมวัสดุ

หลักสูตรเพื่อสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมและสามารถเลือกใช้วัสดุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาด้านวัสดุสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม

See More

วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมวัสดุ

หลักสูตรเพื่อสร้างนักวิจัยที่มีศักยภาพอย่างสูงในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ทั้งที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานและองค์ความรู้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมทางด้านวัสดุของประเทศและระดับนานาชาติ

See More

ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต

Department of Materials and Production Technology Engineering

ทำไมต้องเลือกเรียนวิศวกรรมวัสดุ มจพ.?

Web Development
การผลิตสมัยใหม่
ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างเศรษกิจแบบดั้งเดิมไปสู่เศรษฐกิจการผลิตสมัยใหม่ จึงจำเป็นจะต้องใช้ความรู้การผลิตขั้นสูงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ
Web Development
10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
ที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New engine of growth) ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) จำเป็นจะต้องอาศัยองค์ความรู้ขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี
Web Development
ปณิธานของเรา
มุ่งมั่นผลิตวิศวกรวัสดุที่มีความสามารถสร้างและใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณค่า เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ
Web Development
หลักสูตรที่ครอบคลุม
เรามีหลักสูตรเพื่อสร้างวิศวกรโลหการและวัสดุที่มีทักษะการปฏิบัติงานทางวิศวกรรม คิดได้ ทำเป็น แก้ปัญหาเก่งพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม New S-curve
Web Development
นวัตกรรมและงานวิจัย
เรามีสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและงานวิจัย ที่เป็นผลผลิตจากหลักสูตรวิศวกรรมวัสดุ ทั้งปริญญาตรี โท และ เอก เพื่อสร้างวิศวกรที่คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น พร้อมบูรณาการทำงานและวิจัยร่วมกับผู้อื่นได้
Web Development
คณาจารย์ที่มีศักยภาพ
เรามีคณาจารย์ที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ตั้งแต่พื้นฐานระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก  มีความร่วมมือด้านการเรียนการสอน และงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก มีทีมงานอุตสาหกรรมสัมพันธ์ส่งนักศึกษาไปฝึกงานและร่วมทำงานวิจัย

Open House 2565

4-5 พ.ย. 2565

Open House 2564

 

ศึกษาดูงานภาคอุสาหกรรม

จบวิศวกรรมวัสดุแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง

นายช่างหรินทร์ งามจิตกุศล
นายช่างหรินทร์ งามจิตกุศล
วิศวกรวัสดุ บริษัท Shino-Thai Engineering and Construction pcl.

หน้าที่ความรับผิดชอบ การตรวจสอบโครงสร้างขนาดใหญ่ในการก่อสร้างทางยกระดับสำหรับรถไฟฟ้า (สายสีม่วง) การวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุและประเมินอายุการใช้งานของวัสดุ “เหตุผลหลักเลยน่ะครับที่พี่เลือกเรียนในสาขาวิศวกรรมวัสดุ คือ ในปัจจุบัน ความต้องการบุคลากรในสาขานี้มีมากทั้งในและนอกประเทศ แต่กลับมีมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนในเรื่องนี้ไม่มากครับ จึงทำให้โอกาสในการทำงานมีให้เลือกอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งในโรงงานและธุรกิจต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก”

พนิดา บุญอากาศ
พนิดา บุญอากาศ
นักศึกษาฝึกงาน บริษัท ปตท. สำรวจ และผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.)

หน้าที่ความรับผิดชอบ “บริษัทปตท.สผ. จะมอบหมายให้นักศึกษาฝึกงานแต่ละคนมีโปรเจ็คเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นโปรเจ็คที่เกิดจากสถานการณ์จริงๆในแท่นขุดเจาะน้ำมัน และเค้าต้องการให้เราแก้ไขจริงๆ ส่วนมากที่พี่ทำจะเป็นงานพวกตรวจสอบการกัดกร่อน วิเคราะห์สาเหตุของการกัดกร่อน และหาวิธีการป้องกันการกัดกร่อนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงค่ะ” “ถ้าน้อง ๆ เลือกเรียนสาขาวิชานี้ พี่รับรองค่ะว่าไม่ตกงานแน่นอน เพราะตอนนี้ โรงงานต่างๆตลอดจนบริษัทใหญ่ๆ เริ่มให้ความสนใจ ที่จะรับวิศวกรที่จบด้านนี้มากขึ้น เนื่องจากเรามีทั้งความรู้ด้านวิศวกรรมและการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กัน ทำให้สาขาวิชานี้เป็นสาขาวิชาด้านวิศวกรรมสาขาใหม่ที่น่าสนใจอีกสาขาวิชาหนึ่งเลยล่ะค่ะ”

วาทิศ ประเจกสกุล
วาทิศ ประเจกสกุล
วิศวกร แผนกวิศวกรรมวัสดุ Toyota Motor Asia Pacific Engineering and Manufacturing Co., Ltd.

หน้าที่ความรับผิดชอบ แผนกที่พี่อยู่คือ Material Engineering Division (MED) ซึ่งกรุ๊ปย่อยๆของ MED นั้นมีอยู่ 4 กรุ๊ป แต่ในส่วนของพี่อยู่ในส่วนของ Group Paint ที่ทำเกี่ยวกับสีและ Anti Corrosion (กันสนิม) ของรถทุกคัน “การที่ประเทศของเรากำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้ เราควรจะเตรียมตัวด้านภาษาอังกฤษของเราให้ดี เพราะหากเราพูดได้แค่ภาษาไทย ความก้าวหน้าในการทำงานของเราก็จะพัฒนาช้า Bilingual program เป็นโครงการที่ภาควิชาได้เปิดขึ้นใหม่ เพื่อเตรียมตัวให้เรามีความสามารถด้านภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับการศึกษาในด้านของวิศวกรรม เพื่อที่เราจะสามารถติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเข้าใจและถูกต้องครับ”

Client 1
Client 2
Client 3
Client 4
Client 5
Client 5
Client 5
Client 5
Client 5

การเข้าศึกษาต่อ

ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิตเปิดรับสมัครบุคคลที่สนใจศึกษาต่อดังนี้ แผนการเรียน 4 ปีภาคปกติ (1) สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6 สายวิทย์-คณิต (2) ปวช ประเภทวิชาอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเครื่องกล/ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/การต่อเรือ โดยรับสมัครผ่านระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยระบบใหม่ Thai University Center Admission System ( TCAS) ทุกรอบ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์